วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่1 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสมัยใหม่

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หรือ เอ็มไอเอส ( management information system - MIS)                          หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์หรือขั้นตอนที่ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารและการจัดการองค์กรได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการนี้จะมีส่วนครอบคลุมถึง บุคคล เอกสาร เทคโนโลยี เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล และการสร้างสารสนเทศ และขั้นตอนในการทำงาน เพื่อที่จะแก้ปัญหาทางธุรกิจ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ ระบบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการนี้ถูกใช้ในส่วนของรูปแบบการจัดการข้อมูล                                           เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบช่วยในการตัดสินใจ                                

 
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หรือ เอ็มไอเอส


คุณลักษณะที่ดีของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มีดังนี้
1. ความสามารถในการจัดการข้อมูล (data manipulation) เพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ปกติข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
2. ความมั่นคงของข้อมูล (data security) ที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือการก่อการร้ายต่อระบบ ทำให้สารสนเทศรั่วไหลออกไปสู่บุคคลภายนอก
 • 3. ความยืดหยุ่น (flexibility) สามารถในการปรับตัวได้เข้ากับสถานการณ์ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานหรือปัญหาที่เกิดขึ้น และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริหารได้อยู่เสมอ โดยมีอายุการใช้งาน การบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
 4. ความพอใจของผู้ใช้ (user satisfaction) โดยพัฒนาระบบให้ตรงกับความต้องการและพยายามทำให้ผู้ใช้เกิดความพอใจ สามารถกระตุ้นหรือโน้มน้าวให้ผู้ใช้หันมาใช้ระบบให้มากขึ้นทำให้ระบบมีความสำคัญและคุ้มค่ากับการลงทุน
ผู้บริหารควรศึกษาเรื่องของระบบสารสนเทศ สารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม นอกจากนั้นยังช่วยผู้บริหาร แก้ปัญหา ระบบสารสนเทศจะช่วยเอำนวยความสะดวกและสนับสนุนข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร
ประโยชน์ที่ผู้บริหารจะได้รับจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
• ช่วยให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ ได้ทันเหตุการณ์
• ช่วยให้กำหนดกลยุทธ์ และวางแผนปฏิบัติการได้
• ช่วยให้ตรวจสอบผลการดำเนินงานได้
• ช่วยให้ศึกษา และวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
• ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ปัญหา หรืออุปสรรค เพื่อหาวิธีแก้ไข
• ช่วยลดค่าใช้จ่าย

ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศแบ่งเป็น 5 ส่วน ดังนี้ 

ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ประมวลผลหรือสร้างสารสนเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ CPU เครื่องพิมพ์
ทำหน้าที่ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงาน ผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้ต่อเนื่อง                                                                                                                                           
 2. ซอฟต์แวร์ (Software) คือ ชุดคำสั่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
ทำหน้าที่ ลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง เป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ                   
3. ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงต่าง ๆทั้งที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล อยู่ในรูปของ ตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ ฯลฯ ข้อมูลที่เป็นเสมือนวัตถุดิบที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นสารสนเทศตามที่เราต้องการ
เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกัน ขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่าง ๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิด สารสนเทศ
4. บุคลากร (People ware) คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ แบ่งเป็น 4 ระดับคือ นักวิเคราะห์ระบบ โปรแกรมเมอร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่อง และผู้ใช้
ทำหน้าที่ จะเป็นผู้ดำเนินการ ในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิด ระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศได้ 
5. กระบวนการทำงาน (Procedure) คือ ขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้สารสนเทศ ตามที่ต้องการ 
เช่น การสมัครสมาชิก การเข้ารหัส ฯลฯ
5.1 การนำเข้า (Input) เป็นการนำข้อมูลและสารสนเทศต่าง ๆ ที่ได้จากการรวบรวมเข้าสู่ระบบฃ
5.2 การประมวลผล(Process) เป็นการนำข้อมูลที่ได้ไปประมวลผลตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยการ เรียงลำดับ การคำนวณ ฯลฯ
5.3 การแสดงผล (Output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงในรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการเพื่อส่งเสริมหรือช่วยในการตัดสินใจ
5.4 การจัดเก็บ (Storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลหรือสารสนเทศทั้งหมดที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อให้ผู้ใช้ระบบสารสนเทศสามารถนำมาใช้ได้ใหม่ในอนาคต

มุมมองของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Dimensions of Information Systems)
Organizations องค์กรมีโครงสร้างที่ประกอบไปด้วยระดับและความพิเศษที่แตกต่างกันโครงสร้างของพวกเขาเปิดเผยการแบ่งงานชัดเจน  อำนาจและความรับผิดชอบในบริษัท ธุรกิจมีการจัดระเบียบเป็นลำดับชั้น หรือโครงสร้างพีระมิด  ระดับบนของลำดับชั้นประกอบด้วย ผู้จัดการ, พนักงานมืออาชีพ,พนักงานด้านเทคนิค,ในขณะที่ระดับล่างประกอบด้วยบุคลากรที่ปฏิบัติงาน
Management การจัดการคือการทำให้รู้สึกจากหลาย ๆ สถานการณ์ที่องค์กรต้องเผชิญ ตัดสินใจและกำหนดแผนการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาขององค์กร ผู้จัดการกำหนดกลยุทธ์องค์กรเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายสิเหล่านั้นและจัดสรรทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรทางการเงินเพื่อประสานงานและประสบความสำเร็จตลอดจนพวกเขาต้องเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
Information technology (IT)  เทคโนโลยีสารสนเทศ ( IT ) โครงสร้างพื้นฐานหรือแพลตฟอร์มพื้นฐานที่ บริษัท สามารถสร้างระบบสารสนเทศเฉพาะได้
 Computer hardware  ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์คือ อุปกรณ์ทางกายภาพที่ใช้ป้อนข้อมูล ประมวลผล และเอาต์พุต กิจกรรมในระบบสารสนเทศ ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ขนาดและรูปทรงต่าง ๆ  (รวมถึงอุปกรณ์มือถือมือถือ);อุปกรณ์อินพุต, เอาต์พุตและอุปกรณ์จัดเก็บต่าง ๆ และอุปกรณ์โทรคมนาคมที่เชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ด้วยกัน.
Computer software ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยรายละเอียด คำแนะนำโปรแกรมสำเร็จรูปที่มีการควบคุมและประสานงานคอมโพเนนต์ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ
Data management technology  เทคโนโลยีการจัดการข้อมูลประกอบด้วยซอฟต์แวร์การจัดการข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลทางกายภาพ สื่อ, ข้อมูลองค์กรและวิธีการเข้าถึง
Networking and telecommunications technology ระบบเครือข่ายและการสื่อสารโทรคมนาคมเทคโนโลยีประกอบด้วยอุปกรณ์ทั้งทางกายภาพและซอฟแวร์, การเชื่อมโยงชิ้นส่วนต่าง ๆ ของฮาร์ดแวร์และการถ่ายโอนข้อมูลจากที่หนึ่งสถานที่ทางกายภาพไปยังอีก คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารสามารถเชื่อมต่อได้เครือข่ายสำหรับแบ่งปันข้อมูลเสียงภาพเสียงและวีดีโอ
 ที่กล่าวว่า “การศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีเนื้อหาที่กว้างกว่าการศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์โดยตรง โดยมีเนื้อหาครอบคลุมถึงแนวทางทางเทคนิค (Technical Approach) และแนวทางทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Approach)” ข้าพเห็นด้วย เพราะ แนวทางทางเทคนิค และแนวทางทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นเหมือนการนำเอาวิชาคอมพิวเตอร์เข้ามาต่อยอดและพื้นฐานของการศึกษาสองแนวทางก็เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งนั้น เพียงแต่นำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการศึกษาทำให้ในการศึกษาเรียนรู้จะต้องมีข้อมูลที่มากกว่าคอมพิวเตอร์ อีกทั้งยังต้องใช้ความเข้าใจ การวิเคราะห์ในศึกษา ทำให้มีเนื้อหาที่ค่อนข้างกว้าง

ประเภทของระบบสารสนเทศแบ่งตามระดับการจัดการ ประกอบด้วย
•ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารหารระดับสูง  Executive support systems (ESS)
ผู้บริหารระดับสูงเป็นระบบที่ใช้สนับสนุนการทำงานของผู้บริหารเป็นระบบที่ช่วยในการตัดสินใจและการทำงานของผู้บริหารระดับสูง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการตัดสินใจแบบไม่มีรูปแบบ (Unstructured) โดยใช้ข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาช่วยการตัดสินใจ และมีการนำเสนอโดยเป็นรูปแบบของเมนูและ Graphical User Interface
 •ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ(DSS)
ผู้บริหารระดับกลาง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน DSS คือ ระบบที่ประกอบข้อมูล เครื่องมือ และต้นแบบ (Model) ที่ช่วยในการตัดสินใจแบบกึ่งมีรูปแบบ (Semi - structured)
•ระบบสารสรเทศเพื่อการจัดการ(MIS)
ระดับกลางคือ ระบบที่ช่วยในการตัดสินใจหรือการทำงานของผู้บริหารให้มีประสิทธิภาพขึ้น ได้แก่
-  ระบบการจัดการทำรายงาน (Management Reporting Systems, MRS)
-  ระบบการจัดการสารสนเทศ (Management Information Systems, MIS)
-  ระบบสนับสนุนการทำงานกลุ่ม(Groups Support Systems,GDSSหรือGSS)
-  ระบบสนับสนุนการทำงานของผู้บริหารระดับสูง (Executive Support Systems, ESS  )
•ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานสำนักงาน(OAS)
 เจ้าหน้าที่ในสำนักงาน บุคคลที่ทำงานเฉพาะด้าน และหัวหน้างานระบบที่สนับสนุนการทำงานของสำนักงานให้เป็นอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนทำงานในระดับต่าง ๆ ทั้งผู้บริหารและพนักงาน โดยอาศัยระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย และระบบสื่อสารโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น การประมวลผลคำ(Word Processing)การจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ(Desktop Publishing)ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(E-mail)ไปรษณีย์เสียง(Voice Mail)การประชุมทางวีดีทัศน์(Video Conferencing)เป็นต้น
 •ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานประจำวัน(TPS)
 ผู้บริหารระดับต้น หัวหน้างาน พนักงาน(การผลิต การขาย การเงิน การบัญชี บุคลฯลฯ)ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลที่เป็นการทางธุรกิจต่าง ๆ เข้ามาประมวลผลเบื้องต้น แล้วเก็บไว้เป็นข้อมูลของธุรกิจที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
กระบวนการทางธุรกิจ (Business process) คือ กระบวนการทางธุรกิจเป็นการรวบรวมกิจกรรม จำเป็นต้องผลิตสินค้าหรือบริการ กิจกรรมเหล่านี้ถูกสนับสนุนโดยการหมุนเวียนของวัสดุ ,ข้อมูล และความรู้ระหว่างผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการทางธุรกิจ กระบวนการทางธุรกิจยังหมายถึงวิธีที่องค์กรประสานงาน ข้อมูล และความรู้ และวิธีการที่ผู้บริหารเลือกการประสานงาน
เช่น
การผลิต  การรวบรวมสินค้าตรวจสอบคุณภาพการผลิตของวัสดุ
การขาย   ระบุลูกค้าทำให้ลูกค้าทราบถึงสินค้าที่ขายสินค้า
การเงินและการบัญชี การจ่ายเงิน สร้างงบการเงินบัญชีการจัดการเงินสด 
ทรัพยากรมนุษย์ การจ้างพนักงาน ประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงาน การลงทะเบียนพนักงานในแผนสวัสดิการ

 ระบบสารสนเทศขององค์กรธุรกิจ (Enterprise Application) ประกอบด้วย
1.Enterprise Systems or ERP : คือ ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ ที่ใช้ทั้งองค์กร ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่าง ๆ ขององค์กรเข้าด้วยกันตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชี และการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2.Supply chain management system :กระบวนการ Supply Chain Management หรือ SCM เป็นกระบวนการของการบริหารทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิต กระบวนการสั่งซื้อ จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้าให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกับสร้างระบบให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลที่ทำให้เกิดกระบวนการทำงานของแต่ละหน่วยงานส่งผ่านไปทั่วทั้งองค์การ SCM คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน
3.Customer relationship management system :CRM ระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์ เป็นกระบวนการและเทคโนโลยีเพื่อจัดการสารสนเทศเกี่ยวกับลูกค้าแต่ละบุคคล การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และจัดการอย่างระมัดระวังในจุดสัมผัสลูกค้า (Customer Touch Points) เพื่อทำให้ลูกค้าจงรักภักดีจุดสัมผัสลูกค้า คือ ทุกโอกาสที่ลูกค้าสัมผัสกับแบรนด์และผลิตภัณฑ์จากประสบการณ์ตรงของบุคคล หรือผ่านการสื่อสารมวลชนเพื่อสังเกตความสัมพันธ์ ขั้นตอนดำเนินการCRM จะประกอบด้วยกันทั้งหมด 4 ขั้นตอนคือ
1) การแยกแยะผู้มุ่งหวังและลูกค้า (โดยใช้ฐานข้อมูลลูกค้าที่ได้มาจากทุกช่องทางและจุดที่สัมผัสลูกค้า)
2) สร้างความแตกต่างในลูกค้าจาก-ความต้องการของลูกค้าและคุณค่าของลูกค้าต่อบริษัท
3)จัดปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าแต่ละคนเพื่อปรับปรุงความรู้ของเราเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าแต่ละคน และสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้ง
 4) มีผลิตภัณฑ์บริการที่เฉพาะและสื่อสารไปยังลูกค้าแต่ละคน (เช่น Call Center และ Website) 
4.Knowledge management Systems :KM ระบบการบริหารจัดการความรู้ คือ ระบบบริหารจัดการความรู้ให้เป็นระเบียบ ครบถ้วน ง่ายต่อการเรียกใช้ จัดเก็บตาม ความต้องการเก็บรักษาความรู้ให้ควบคู่กับองค์กรตลอดไป โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการ การจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
•การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
•การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
•การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
•การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
•การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
•การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
•การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง 
การทำงานร่วมกัน (Collaboration) คือการร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน เป็นกระบวนการที่วนเกิดขึ้นซ้ำ ๆระหว่างกลุ่มคนหรือองค์กรที่ทำงานร่วมกันเพื่อไปสู่เป้าหมายขององค์กรที่ตั้งไว้ โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างข้อตกลง ตัดสินใจ แก้ไขปัญหาร่วมกัน อีกทั้งยังมีการร่วมใจ ทัศนคติ ความตั้งใจ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานร่วมกัน เป็นไปในทิศทางเดียวกันการทำงานร่วมกันทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดการแชร์และเป้าหมายที่ชัดเจน การทำงานร่วมกันเน้นภารกิจหรือภารกิจความสำเร็จและมักจะเกิดขึ้นในธุรกิจหรืออื่น ๆองค์กรและระหว่างธุรกิจ 
เครือข่ายสังคมธุรกิจ (Social Business) คือธุรกิจเพื่อสังคม - การใช้แพลตฟอร์มเครือข่ายทางสังคม,รวมทั้ง Facebook, Twitter และสังคมภายในองค์กรเครื่องมือเพื่อดึงดูดพนักงานลูกค้าของพวกเขาและซัพพลายเออร์ เครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้คนงานสามารถตั้งค่าโปรไฟล์,กลุ่มแบบฟอร์มและ "ติดตาม" การอัพเดตสถานะของกันและกัน เป้าหมายของธุรกิจเพื่อสังคมคือการเพิ่มความสัมพันธ์กับกลุ่มภายในและภายนอก บริษัท เพื่อเร่งรัดและเพิ่มการแบ่งปันข้อมูลนวัตกรรมและการตัดสินใจ
 มีการจัดแบ่งกลุ่มของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ดังนี้
•Social networks  เชื่อมต่อผ่านโปรไฟล์ส่วนบุคคลและธุรกิจเครือข่ายสังคม (ชุมชนออนไลน์) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคมเป็นการบริการที่เชื่อมโยงคนหลายคนเข้าไว้ด้วยกันผ่านอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแชท ส่งข้อความ ส่งอีเมลล์ วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก ตัวอย่างของ Social Network ได้แก่ Facebook Twitter Hi5 Blogger เป็นต้น 
•Crowsourcing  ใช้ความรู้โดยรวมเพื่อสร้างแนวคิดและแนวทางใหม่ ๆการกระจายปัญหาไปยังกลุ่มค้นเพื่อค้นหาคำตอบ และวิธีการในการแก้ปัญหาทางธุรกิจนั้นๆ บริษัทสามารถ broadcast คำถามหรือปัญหาที่ต้องการคำตอบไปยังกลุ่มคนขนาดใหญ่เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการใหม่  เป็นการทำงานที่เกิดขึ้นมาจากกลุ่มคนจำนวนมาก เกิดจากการที่เรามีไอเดียหรือปัญหาที่ยากจะทำสำเร็จได้ด้วยตัวคนเดียว โดยอาจจะขาดเงินทุนสนับสนุน หรือแรงงานที่จะช่วยในการทำให้สำเร็จ เราก็สามารถแบ่งงานเหล่านั้นออกเป็นชิ้นเล็กๆ และกระจายให้กลุ่มคนหลายๆ คนทำพร้อมๆ กัน ให้เขาแก้ปัญหาเล็กๆ ให้เรา เมื่อทุกคนต่างทำงานเล็กๆ ของตนสำเร็จแล้ว ก็หมายถึงว่างานชิ้นใหญ่ที่ประกอบขึ้นจากงานชิ้นเล็กๆ เหล่านั้นก็จะประสบความสำเร็จไปด้วย
•Shared workspaces ประสานงานโครงการและงานสร้างเนื้อหาร่วมกันคือการที่กลุ่มคนจากต่างสาขาอาชีพมารวมตัวกันและทำงานในพื้นที่เดียวกัน การทำงานในลักษณะนี้แตกต่างจากการทำงานในบริษัทหรือองค์กรโดยทั่วไป ก็คือ ทุกคนต่างคนต่างทำงานของตัวเอง เพียงแต่แบ่งปันพื้นที่ในการทำงานร่วมกันเท่านั้น การรวมตัวกันในพื้นที่ทำงานชั่วคราวแล้ว ยังอาจหมายถึงชุมชนย่อม ๆ ที่เป็นสังคมแห่งการแบ่งปันของคนทำงานจากหลายสาขาอาชีพได้อีกด้วย
•Blogs and wikis เผยแพร่และเข้าถึงความรู้ได้อย่างรวดเร็ว หารือเกี่ยวกับความคิดเห็นและประสบการณ์
 -Blog เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงค์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่าง ๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอเป็นที่ ๆ บอกเล่าประสบการณ์ หรือความคิดของผู้เขียนมักจะมีเจ้าของblogเพียงคนเดียว บล็อคจะมีเนื้อหาคลอบคลุมไปด้านใดด้านหนึ่งที่ผู้เขียนบล็อคนั้นสนใจ โดยผู้อ่านและผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นโต้ตอบกันได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมีพื้นที่ไว้สำหรับบอกเล่าเรื่องราว ประสบการณ์ งานอดิเรก หรือสิ่งที่ชื่นชอบให้แก่ผู้อื่นฟัง และสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่เข้ามาอ่านเรื่องราวของเราได้
-Wiki เป็นสังคมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ผู้เข้ามาใช้งานสามารถเขียนหรือแก้ไขข้อมูลได้ทุกเวลา wiki เป็นเหมือนคลังความรู้ออนไลน์ ที่เป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมความรู้จากผู้รู้ หลายคน มาเก็บรวบรวมไว้ที่เดียวกัน ซึ่งผู้ใช้งานรายอื่น ๆ สามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้  แต่แสดงความคิดเห็นไม่ได้ วิกิซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นตัวซอฟต์แวร์รองรับการทำงานระบบนี้ หรือยังสามารถหมายถึงตัวเว็บไซต์เองที่นำระบบนี้มาใช้งาน
 •Social commerce แชร์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการซื้อหรือซื้อบนแพลตฟอร์มโซเชียล Social Media ในมุมมองที่เกี่ยวข้องกับ E-Commerce การแบ่งปันความคิดเกี่ยวกับการซื้อบนแพลตฟอร์มของสังคมออนไลน์หรือการทำธุรกิจโดยมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Social Activity บนโลกออนไลน์ Social Commerce เป็นธุรกรรมเชิงพาณิชย์ที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย 
•File sharing อัปโหลดแชร์และแสดงความคิดเห็นในรูปภาพวิดีโอเสียงข้อความเอกสาร ระบบการแชร์ไฟล์บน Windows ที่จะทำให้เราสามารถแชร์ไฟล์ต่าง ๆ อัปโหลด และแบ่งปันการใช้งานร่วมกันไม่ว่าจะเป็นเอกสาร รูปภาพ วีดีโอ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ถูกเก็บไว้จากศูนย์กลางที่เดียว คอยให้บริการกับ Client User เข้าไปใช้งานโดยที่ไม่ต้องเก็บไว้กับเครื่องตนเอง และยังสามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์หรือโฟลเดอร์เหล่านั้นได้อีกด้วย
•Social marketingใช้โซเชียลมีเดียเพื่อโต้ตอบกับลูกค้า ได้รับมาการตลาดรูปแบบนี้คือการสร้างสรรค์สังคม หรือการแบ่งส่วนของผลประกอบการเข้าเพื่อเข้าสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรอบทั้งในถิ่นที่ตั้งอยู่หรือแม้กระทั้งสังคมโลกก็ตาม การทำการตลาดบนสื่อออนไลน์ คนส่วนใหญ่จะเข้าถึงได้ง่าย การเข้าถึงกลุ่มบุคคลที่สนใจในตัวสินค้าหรือบริการแบบตัวต่อตัว โดยที่เจ้าของกิจการสามารถพูดคุยหรือสอบถามข้อมูลผ่านทาง Social Media ได้เหมือนผู้ซื้อได้พูดคุยสอบถามข้อมูลกับเจ้าของร้านโดยตรงข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า
•Communities อภิปรายหัวข้อในเรื่องการเปิดฟอรัม แบ่งปันความรู้ความชำนาญ
  ธุรกิจจะได้ประโยชน์ดังนี้
•ด้านผลผลิต
คนที่มีปฏิสัมพันธ์และทำงานร่วมกันสามารถจับภาพความรู้และผลผลิตของผู้เชี่ยวชาญได้ แก้ปัญหาได้เร็วกว่าจำนวนคนที่ทำงานแยกกัน จะมีข้อผิดพลาดน้อยลง 
•ด้านคุณภาพ
คนที่ทำงานร่วมกันสามารถแจ้งข้อผิดพลาดและแก้ไขคุณภาพได้การกระทำได้เร็วกว่าถ้าพวกเขาทำงานแยกกัน ทำงานร่วมกันและใช้เทคโนโลยีทางสังคมช่วยลดความล่าช้าในการออกแบบและผลิต 
•ด้านนวัตกรรม
คนที่ทำงานร่วมกันสามารถเกิดแนวคิดใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ผลิตภัณฑ์บริการและการบริหารจัดการมากกว่าจำนวนเดียวกันการแยกกันทำงาน ข้อดีของความหลากหลายและภูมิปัญญาของฝูงชน " 
•ด้านการบริการลูกค้า
คนที่ทำงานร่วมกันโดยใช้ความร่วมมือและเครื่องมือทางสังคมสามารถแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนและปัญหาของลูกค้าที่ให้บริการลูกค้าได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่ากรณีที่พวกเขากำลังทำงานแยกออกจากกัน ประสิทธิภาพทางการเงิน 
•ด้านประสิทธิภาพทางการเงิน  การทำกำไร การขาย การเติบโตของยอดขาย
อันเป็นผลมาจากทั้งหมดข้างต้น บริษัท ที่ทำงานร่วมกันมียอดขายที่เหนือกว่ายอดขาย ความสามารถในการทำกำไรการขายและการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพทางการเงิน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น